หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ผัสสะในปฏิจจสมุปบาท

   ผัสสะ คือ การเชื่อมต่อความรู้กับโลกภายนอก การรับรู้อารมณ์หรือประสบการณ์ต่างๆ เช่น
๐ จักขุผัสสะ - สัมผัสทางตา
๐ โสตผัสสะ - สัมผัสทางเสียง
๐ ฆานผัสสะ - สัมผัสทางจมูก
๐ ชิวหาผัสสะ - สัมผัสทางลิ้น
๐ กายผัสสะ - สัมผัสทางกาย
๐ มโนผัสสะ - สัมผัสทางกาย

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา

สฬายตนะในปฏิจจสมุปบาท

   สฬายตนะ คือ สิ่งที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อกันทางวิถีประสาทด้วยอายตนะทั้ง ๖ มี
๐ ตา - จักขายตนะ
๐ หู - โสตายตนะ
๐ จมูก - ฆานายตนะ
๐ ลิ้น - ชิวหายตนะ
๐ กาย - กายายตนะ
๐ ใจ - มนายตนะ

เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ

นามรูปในปฏิจจสมุปบาท

   นามรูป คือ ความมีอยู่ของรูปธรรมและนามธรรมในความรับรู้ของบุคคล ภาวะที่ร่า่งกายและจิตใจทุกส่วนอยู่ในสภาพที่สอดคล้องและปฏิบัติหน้าที่เพื่อตอบสนองในแนวทางของวิญญาณที่เกิดขึ้นนั้น ส่วนต่างๆของร่างกายและจิตใจที่เจริญหรือเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพจิต

เพราะนามรูปเิกิด จึงเป็นปัจจัยให้มีสฬายตนะ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2553

วิญญาณในปฏิจจสมุปบาท

   วิญญาณ คือ การรับรู้ในอารมณ์ที่มากระทบในทวารทั้ง ๖ คือ มองเห็น ได้ยินเสียง ได้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัสกาย รู้ต่ออารมณ์ที่มีในใจ ตลอดจนสภาพพื้นเพของจิตใจขณะนั้น
๐ ทางตา - จักขุวิญญาณ
๐ ทางเสียง - โสตวิญญาณ
๐ ทางจมูก - ฆานวิญญาณ
๐ ทางลิ้น - ชิวหาวิญญาณ
๐ ทางกาย - กายวิญญาณ
๐ ทางใจ - มโนวิญญาณ

เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป

วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553

สังขารในปฏิจจสมุปบาท

   สังขาร คือ การปรุงแต่งของจิตให้เกิดหน้าที่
   ๐ ทางกาย เรียกกายสังขาร ได้แก่ ธรรมชาติที่ปรุงแต่งร่างกายให้เกิดลมหายใจเข้าออก
   ๐ ทางวาจา เรียกวจีสังขาร ได้แก่ ธรรมชาติท่ปรุงแต่งให้เกิดวิตกวิจาร
   ๐ ทางใจ เรียกจิตสังขาร ได้แก่ ธรรมชาติที่ปรุงแต่งจิตให้เกิดสัญญา เวทนา สุข ทุกข์ทางใจ

เพราะการปรุงแต่งของจิตหรือสังขารเป็นปัจจัย จึงเกิดมีวิญญาณ

อวิชชาในปฏิจจสมุปบาท

   อวิชชา คือ ความไม่รู้ตามความเป็นจริงในความทุกข์ของจิต ไม่รู้เท่าทันตามสภาวะ ความหลงไปตามสมมุติบัญญัติ ความไม่เข้าใจโลกและชีวิตที่เป็นจริง ความไม่รู้ที่แฝงอยู่กับความเชื่อถือต่างๆภาวะขาดปัญญา ความไม่หยั่งรู้เหตุปัจจัย การไม่ใช้ปัญญาหรือปัญญาไม่ทำงานในขณะนั้น

เพราะความไม่รู้หรืออวิชชาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีสังขาร

วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2553

องค์ประกอบของปฏิจจสมุปบาท

   องค์ประกอบของปฏิจจสมุปบาทนั้น นับตั้งแต่อวิชชา ถึง ชรามรณะเท่านั้น คือ ๑.อวิชชา > ๒.สังขาร >  ๓.วิญญาณ > ๔.นามรูป>  ๕.สฬาตนะ > ๖.ผัสสะ > ๗.เวทนา > ๘.ตัณหา > ๙.อุปาทาน > ๑0.ภพ > ๑๑.ชาติ > ๑๒.ชรามรณะ   ส่วนโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส (ความคับแค้นใจ) เป็นเพียงตัวพลอยผสม เกิดแก่ผู้มีอาสวกิเลสเมื่อมีชรามรณะแล้ว เป็นตัวกสนหมักหมม อาสวะซึ่งเป็นปัจจัยให้เกิดอวิชชาหมุนวงจรต่อไปอีก