หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

หลักไตรลักษณ์

   หลักไตรลักษณ์ หมายถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าอันว่าด้วยลักษณะ ๓ อย่างที่มีทั่วไปแก่สรรพสิ่ง ไตรลักษณ์เป็นลักษณะประจำของขันธ์ ๕ ไตรลักษณ์จึงถือว่าเป็น "กฎ" อย่างหนึ่งของธรรมชาติ


องค์ประกอบของไตรลักษณ์
   ๑. อนิจจตา ความเป็นอนิจจัง คือความไม่เที่ยง ความเปลี่ยนแปลง ลักษณะของอนิจจตาหรือที่เรียกว่า "อนิจจลักษณะ" ก็คือ การเกิดขึ้น , การเปลี่ยนแปลงขณะตั้งอยู่ , และการดับไปของสิ่งทั้งหลาย
  
   ๒. ทุกขตา ความเป็นทุกข์หรือความทุกข์ คือสิ่งที่ทนได้ยาก และอาการที่ทนอยู่ในสภาวะเดิมไม่ได้ จำแนกความทุกข์ออกเป็น ๓ ประเภทดังนี้
    (๑) ทุกขทุกขตา หรือ ทุกขทุกข์ หมายถึง ทุกข์คือความรู้สึกทุกข์ซึ่งเป็นเวทนา
    (๒) สังขารทุกขตา หรือ สังขารทุกข์ ทุกข์ตามสภาพสังขารหรือทุกข์คือสังขาร หมายถึงทุกข์ของสังขารทั้งปวง
    (๓) วิปริณามทุกขตา หมายถึงความรู้สึกสุขหรือสุขเวทนาที่เป็นความทุกข์หรือมีทุกข์แฝงอยู่ด้วยตลอดเวลา

   ๓. อนัตตา ความเป็นอนัตตา คือความไม่ใช่และไม่มีสิ่งที่เรียกว่า "อัตตา" รวมทั้งลักษณะของความไม่เป็นไปในอำนาจบังคับบัญชา ความเป็นอนัตตามีความหมายหลัก ๒ อย่างคือ
    (๑) ความเป็นอนัตตาหมายถึงความไม่มีสิ่งที่เรียกว่า "อัตตา"
    (๒) ความเป็นอนัตตาหมายถึงลักษณะที่ไม่เป็นไปในอำนาจบังคับบัญชา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น